ไขข้อสงสัย ทำไม นอนดึก นอนน้อย ยิ่งอ้วน ?

ไขข้อสงสัย ทำไม นอนดึก นอนน้อย ยิ่งอ้วน ?

การนอนมีผลต่อน้ำหนักตัวหรือโรคอ้วนอย่างไร คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการ นอนดึก มักไม่ส่งผลร้ายแรงกับร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายคนเรามีนาฬิกาชีวิตที่เป็นวงจรของระบบการทำงานอยู่นะคะ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น นอนหลับ, การเผาผลาญ, การหลั่งฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค่ะ ซึ่งร่างกายของคนเรานั้นมีเวลาที่เหมาะสมเช่นเดียวกันคือ ไม่เกิน 4 ทุ่ม และต้องนอนให้เต็มอิ่มประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน

และแน่นอนว่าการนอนดึก จะส่งผลเสียมากมาย ส่งผลให้ระบบการทำงานส่วนอื่น ๆ ทำงานผิดปกติตามไปด้วย อย่างการหลั่งฮอร์โมนหิว กินอิ่มและระบบการเผาผลาญ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้อ้วน บางคนอ้วนง่ายมาก หิวตอนดึก หรือแม้กระทั่งในวันที่พักผ่อนไม่เพียงพออยู่ในภาวะพักผ่อนน้อยอ้วนง่ายเหมือนกันค่ะ

ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
เวลาที่เหมาะสมเช่นเดียวกันคือ ไม่เกิน 4 ทุ่ม และต้องนอนให้เต็มอิ่มประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับจำนวนเวลาของการนอนหลับที่เหมาะสมในแต่ละวันก็แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยด้วยนะคะ หมอได้สรุปไว้ดังนี้ค่ะ

  • วัยเด็กแรกเกิด อายุ 0-3 เดือน เวลาแนะนำต่อวัน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยเด็กทารก ช่วงอายุ 4-11 เดือน เวลาแนะนำต่อวัน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยเด็กหัดเดิน ช่วงอายุ 1-2 ปี เวลาแนะนำต่อวัน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยก่อนเข้าเรียน 3-5 ปี เวลาแนะนำต่อวัน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยเรียน 6-13 ปี เวลาที่แนะนำต่อวัน 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยรุ่น 14-17 ปี เวลาแนะนำต่อวัน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยหนุ่ม-สาว 18-25 ปี เวลาที่แนะนำต่อวัน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยผู้ใหญ่ 26-64 ปี เวลาที่แนะนำต่อวัน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • วัยชรา 65 ปีขึ้นไป เวลาที่แนะนำต่อวัน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

เราต้องนอนเพื่ออะไร

  • ซ่อมแซมร่ากายและการทำงานของระบบสมองให้ทำงานได้อย่างปกติ
  • เก็บถนอมพลังงานในร่างกาย
  • รักษาประสิทธิภาพของระบบสมองและประสาท
  • รักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย
  • จัดระบบความจำในช่วงที่ได้รับมาในช่วงเวลากลางวัน
  • รักษาระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ
  • เพิ่มประสิทธิภาพของความคิด เช่น สมาธิ, การคำนวณ, การตัดสินใจ ฯลฯ

นอนน้อย นอนดึก ผลเสียมากมายตามมา

นอนน้อย นอนดึก ผลเสียมากมายตามมา
การนอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่อาการเหนื่อยล้าและเกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน เกิดการหลั่งฮอร์โมนรวน

การนอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่อาการเหนื่อยล้าและเกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน เกิดการหลั่งฮอร์โมนรวน เมื่อระบบต่าง ๆ ทำงานไม่ปกติก็ย่อมส่งผลเสียโดยตรงกับทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ดังนี้ค่ะ

  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • สมาธิสั้น การตัดสินใจแย่ลง
  • การรับรู้ การเรียนรู้ ทำได้ช้าลง
  • ขี้หลงขี้ลืม
  • ภูมิคุ้มกันลดลง
  • เฉื่อยชา การตอบสนองช้าลง
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  • ระบบย่อยอาหารผิดปกติ
  • ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ปกติ
  • หิวตอนดึก กินมื้อดึก กินเยอะขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้น
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิต ฯลฯ
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

นอนดึกทำให้อ้วนได้อย่างไร

นอนดึกทำให้อ้วนได้อย่างไร
• ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกหิว ถ้าหากเรานอนน้อย พักผ่อนไม่พอ

การที่เรานอนไม่พอ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้มีปริมาณมาก-น้อยไม่สมดุล โดยฮอร์โมนที่ว่านี้ก็ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ติซอล รวมไปถึงฮอร์โมนเกรลิน และฮอร์โมนเลปตินค่ะ

นอนดึกอ้วน นอนน้อยอ้วน ที่มาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล

คนที่พักผ่อนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยจะส่งสัญญาณไปให้ร่างกายเก็บพลังงานไว้ใช้ พลังงานที่ว่านี้ก็คือ “ไขมัน” นั่นเองค่ะ นี่เองจึงเป็นสาเหตุทำให้อ้วน รวมไปถึงเจ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงจนเกินไปยังทำให้ปริมาณของน้ำตาลและอินซูลินในเลือดไม่คงทีค่ะ จึงส่งผลให้เรารู้สึกอยากกินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาลเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการนี้มักจะทำให้หลายคนรู้สึกหิวตอนดึกนั่นเอง

นอนดึกอ้วน นอนน้อยอ้วน มาจากฮอร์โมนหิว-อิ่ม

คนที่พักผ่อนน้อย จะส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนไม่สมดุลหรือผลิตออกมาน้อยและมากผิดปกติ ซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเราเพิ่มขึ้น โดยฮอร์โมนที่ว่านี้ คือ

  • ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกหิว ถ้าหากเรานอนน้อย พักผ่อนไม่พอ ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมาเยอะเกินไป แน่นอนว่าก็จะยิ่งทำให้เราหิวบ่อย หิวตอนดึก
  • ส่วนฮอร์โมนเลปติน (Leptin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม การนอนดึก จะทำให้มีฮอร์โมนเลปตินน้อย ส่งผลให้เราอยากข้าวกินขนมมากขึ้น กินจุกจุก กินในปริมาณมาก รู้สึกอิ่มช้าลง ซึ่งพอเรากินมากจนเกินไปก็จะทำให้น้ำหนักขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ทาง beautyismind