หากเราพูดถึงเรื่องโรคภัยใกล้ตัวของผู้หญิงนั้น สามารถพบกับความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากมาย หรือแม้กระทั่งความเปลี่ยนแปลงของตัวเองที่แสดงออกมาให้เราเริ่มที่จะสงสัยขึ้น ยกตัวอย่างเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลข้างเคียงที่ตามมานั้นไม่ว่าจะเป็นสิวเหอไม่หยุดทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้น ปวดประจำเดือนมากว่าปกติ เป็นต้น
นั่นจึงทำให้อาการเหล่านี้ที่แสดงออกมาก็ทำให้สาว ๆหลายคนเริ่มที่จะตระหนักถึงความผิดปกติในร่างกาย ดังนั้นวันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปดูอีกหนึ่งความเสี่ยงที่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้กัน นั่นคือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ( PCOS ) แล้วจะเสี่ยงต่อสุขภาพแบบไหน และมีวิธีการรักษาหรือดูแลสังเกตุอาการตัวเองอย่างไรบ้างนั้นไปดูกันค่ะ
ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร?
เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย โดยจะพบเป็นชีสต์หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่ของผู้หญิง เมื่อชีสต์หรือถุงน้ำไปเบียดรังไข่ส่งผลให้การทำงานของรังไข่เกิดความผิดปกติ ทำให้การตกไข่เกิดความไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มักจะพบในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยพบความชุกประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ทั้งอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือความผิดปกติของหลายระบบในร่างกาย อาทิเช่น ต่อมใต้สมอง รังไข่ ต่อมหมวกไต เป็นต้น
แล้วสาเหตุเกิดจากอะไร ?
ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่สัมพันธ์ได้แก่ ยีน (พันธุกรรม) ภาวะดื้ออินซูลิน และการอักเสบของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสตรีที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติของฮอร์โมนอยู่หลายตำแหน่งเลยทีเดียว และอาจพบว่ามีระดับเอนไซม์อินซูลินในกระแสเลือดมากกว่าปกติด้วย
ความอ้วน กับ PCOS ในผู้หญิงเกี่ยวข้องกันยังไง?
แน่นอนว่าความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ นั่นจึงส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริบกะปรอย ประจำเดือนขาดหายไป หรืออาจถึงขั้นทำให้มีบุตรยากได้
อาการที่เสี่ยงต่อการเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS)
ซึ่งสามารถพบมากใน 5-10% ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่ต้องบอกว่าเป็นภัยเงียบนั้น ก็เพราะมันอาจจะทำให้เกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงบางอย่าง ซึ่งอาจเกิดได้ตามอาการดังต่อไปนี้
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน ห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิด 6-8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด 6 เดือนในผู้หญิง ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอยหรืออาจจะมามากเกินไป มานานติดต่อกันจนผิดปกติ รวมไปถึงเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติด้วย
- ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเพศชายที่มีอยู่ในร่างกายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง เมื่อพบว่าฮอร์โมนเพศชายมีมากในเพศหญิงเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะขนหนาและขนดก สิวขึ้นมากกว่าเดิม ผิวมัน และหนังศีรษะเริ่มล้าน เป็นต้น
- น้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วนขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน ทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสอาการภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้
ความน่ากลัว และความรุนแรงของโรค PCOS
หากเราพบแล้วว่าเจอภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS แล้วไม่รีบรักษาสิ่งที่จะตามมานั้นก็ส่งผลร้ายแรงเป็นอย่างมาก ดังนี้
- มีบุตรยาก เนื่องจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง และหากเกิดการตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะแท้งลูกในช่วง 3 เดือนแรกได้ เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
- เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุในโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งเต้านม
วิธีการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
- ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร เมื่อลดน้ำหนักได้ในเกณฑ์ปกติ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายจะกลับมาใกล้เคียงปกติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
- ทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรแพทย์อาจให้ทานฮอร์โมนช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่ต้องการมีบุตร แพทย์จะรักษาด้วยยากระตุ้นการตกไข่ หากไม่ได้ผลอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกระตุ้นการตกไข่และการตั้งครรภ์
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่ รักษาภาวะดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ฯลฯ
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
ผู้ป่วย PCOS ที่มีอาการอื่นร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาจเป็นผลมาจากอาการหลักที่ปรากฎอยู่ เช่น โรคอ้วน โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้เยอะมีดังนี้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ความดันโลหิตสูง หรือภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากตั้งครรภ์
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงอย่างต่อเนื่อง
- ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคตับอักเสบ ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันในตับ
- ภาวะมีบุตรยาก คลอดก่อนกำหนด หรือแท้งบุตร
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
- โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า
วิธีดูแลตัวเองของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS)
ในส่วนของขั้นตอนวิธีดูแลตัวเองจากการเกอภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) สามารถทำตามได้ดังนี้
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
- ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
- ใช้ยาฮอร์โมนตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือลดยาเอง หรือปรับเปลี่ยนยาเอง
- ไปตรวจติดตามตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
บทส่งท้าย
สำหรับ PCOS ถือว่าเป็นกลุ่มโรคที่เรายังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน หรือชัดเจน แต่สามารถรักษาได้ตามแต่ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีนั้น ควรใส่ใจควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักตัวของเราเกิน หรืออ้วนมากเกินไปจนไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยตัวเอง แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อลดน้ำหนักอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีทั้งการทานยาและผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วน
เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังมองหาเทรนด์ความงามอย่าลืมติดตาม บทความ ใหม่ๆ ได้ที่เว็บไซต์ beautyismind ด้วยนะ